แปลงสถาบันเป็นทุน
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนั้นทำให้การศึกษาในสถาบันเหลือคุณค่าเพียงแค่การสะสมทุนสำหรับปัจเจกในการหางานในอนาคต เป็นทุนในการสมัครงานหารายได้เลี้ยงชีพ ปัจจุบันระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยเน้นฝึกฝนให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถที่จะเข้าไปเป็นแรงงานได้ทันที มีการเปิดสอนหลักสูตรใหม่ๆที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของการขยายตัวทางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ สิ่งที่น่าสังเกตุคือ หลักสูตรการเรียนการสอนที่จะสามารถฝึกฝนให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถและความคิดอ่านในการทำงานพัฒนาหรืองานอนุรักษ์ กลับมีน้อยลงทุกที
ทุนในการทำงานและหางานนั้นนอกจากชื่อชั้นของสถาบันแล้ว ยังรวมถึง เกรดเฉลี่ย ประสบการณ์ส่วนตัว ทักษะในการทำงานจริง ความรู้ที่มี เส้นสาย นามสกุล บุคคลิก รวมไปถึงรูปร่างหน้าตา เป็นทุนที่จะทำให้คนๆนั้นประสบความสำเร็จในการหางานหรือการความก้าวหน้าการทำงาน หากแต่ต้องเข้าใจว่า ชื่อชั้นของสถาบัน เป็นหนึ่งในทุนหลักอันหนึ่งทีเดียว เป็นปัจจัยที่จะสร้างความประทับใจให้ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นแวดวงของบริษัทเอกชน ราชการ หรือแม้แต่สถาบันการศึกษา ทุนทางชื่อชั้นของสถาบันมีส่วนสำคัญในการกำหนด ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น และทัศนคติต่อตัวบุคคลในระยะเบื้องต้นอยู่เสมอ การเพียรพยายามศึกษาเล่าเรียนของเด็กไทยจึงเป็นไปเพื่อการแสวงทุนทางด้านนี้เสียเป็นส่วนใหญ่ มีการเข้าเรียนกวดวิชา นั่งท่องตำราสอบกันอย่างบ้าคลั่งก็เพื่อการนี้ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเอามาก เพราะความรู้ที่พวกเขาลงทุนลงแรงอดตาหลับขับตานอนนั้น กลับเป็นความรู้ที่ใช้ได้เพียงแค่ในการทำข้อสอบ แม้ว่าความรู้เหล่านี้จะมีประโยชน์อยู่บ้าง แต่พวกเขาก็ไม่ได้รับการฝึกฝนให้เกิดทักษะในการเชื่อมโยงความรู้เหล่านี้ในชีวิตประจำวันอย่างจริงจังตามสมควร
สิ่งหนึ่งที่ศิษย์เก่าสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (แมสคอม ม.ช.)ภาคภูมิใจและถือว่าเป็นหลักการที่สำคัญควรถือเอาเป็นแบบอย่างก็คือ การสู้งาน ติดดิน หรือพูดรวมๆว่า “อึด” ซึ่งดูเหมือนว่า คำๆนี้ จะเป็นสูตราสำคัญ ในชีวิตการเป็นบันฑิตแมสคอม ม.ช.เอาเลย ราวกับว่า ลึกๆแล้ว ทุกคนยอมรับให้นิเทศจุฬาฯ หรือ วารสารธรรมศาสตร์ มีศักดิ์ศรีเหนือกว่าแมสคอม ม.ช. คิดว่าคนที่สอบเข้าเรียนได้เค้าเก่งกว่า คะแนนเอ็นทรานซ์สูงกว่า เกียรติยศชื่อชั้นมันก็ดูดีกว่าไปเสียหมด เป็นระบบคิดที่สมยอมกับการให้ความมอบความไม่เท่าเทียมทางศักดิ์ศรีเนื่องด้วยทุนทางคุณวุฒิและสถาบัน ทำให้คิดยอมรับได้ว่า ตานั่นสมควรได้ทุนไปเรียนต่อเพราะมันแน่ จบจุฬาฯ โทฮาร์เวิร์ด หรือ ยัยนี่จบปริญญาเอกมา ก็สมควรแล้วที่หล่อนได้เงินเดือนมากกว่าเรา ความคิดเช่นนี้ทำให้บัณฑิตแมสคอมทั้งในอดีตและปัจจุบันยอมรับในความด้อยกว่าทางคุณวุฒิและศักดิ์ศรี พวกเขาเหล่านั้นจึงมีกระบวนการต่อสู้เพื่อเพิ่มมูลค่าของ “ทุน”เมื่อต้องเข้าไปสู่ระบบการทำงานในองค์กร พวกเขาพบว่า เด็กบ้านนอกอย่างเรา มีดีที่ความไม่หยิบโหย่ง สู้งาน และ อดทน ซึ่งเป็นทุนที่ประทับใจนายจ้างและเป็นทุนที่พวกเขามีอยู่มากกว่าบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยชั้นสูง
จริง ที่ความวิริยะ อุตสาหะ และความเพียรเป็นคุณสมบัติที่บัณฑิตพึงมี แต่ควรแล้วหรือที่เราจะสยบยอมต่อโครงสร้างเช่นนี้ ข้าพเจ้าและปัญญาชนผู้ใหญ่หลายคนกลับพบว่า บ่อยครั้งทีเดียวที่นักศึกษาและบัณฑิตแมสคอมม.ช. มีระบบความคิด และวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางกว่าชาวสถาบันอื่นมากนัก เหตุเนื่องจากเราได้เรียนรู้วิชาและหลักสูตรที่เน้นความรอบรู้(well-rounded)ความเข้าใจในมนุษย์ และ สังคม จากคณาจารย์ในคณะมนุษย์และอื่นๆ ซึ่งมีความคิดที่ก้าวหน้ามากอย่างน่าอัศจรรย์ ทุกท่านคงเข้าใจดีว่าข้าพเจ้าหมายถึงวิชาอะไรบ้างและสอนโดยใคร แต่หากชาวแมสคอมม.ช.ส่วนใหญ่กลับไม่เห็นค่าของสิ่งเหล่านี้(take it for granted)หากแต่ติดยึดอยู่ในวิธีคิดที่ยอมรับในความด้อยกว่าของสถาบัน อันนำมาซึ่งแนวทางของการต่อสู้ทางชนชั้น ด้วยการพยายามยกระดับสถาบันของตน เปลี่ยนภาควิชาให้เป็นคณะ ข้าพเจ้าเห็นว่านี่เป็นการต่อสู้ที่เต็มไปด้วยความหลง และยิ่งเป็นการสนับสนุนระบบการกดขี่เชิงโครงสร้างแห่งศักดิ์ศรีเพิ่มขึ้นไปอีก บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยที่ชื่อชั้นด้อยกว่าม.ช. ก็จะถูกกดขี่ไปเป็นทอดๆมากขึ้นไปอีก ควรแล้วหรือขอท่านโปรดตรอง
อีกเหตุผลหนึ่งที่คณะผู้ผลักดันชี้ให้เห็นถึงข้อดีของการเป็นคณะคือเรื่องของงบประมาณและระเบียบการบริหารที่จะสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งข้าพเจ้าไม่มีข้อคัดค้านหรือโต้แย้งใดๆในประเด็นนี้ เพียงแต่อยากจะตั้งคำถามว่า คุ้มหรือไม่ที่จะแลกวิสัยทัศน์และกระบวนการคิดอันน่าชื่นชม กับเพียงแค่งบประมาณที่เพิ่มขึ้น ความสะดวกในการบริหาร ตำแหน่ง(หัวหน้าภาค กลายเป็นคณะบดี) และความภูมิใจหลอกๆ
หากภาควิชาการสื่อสารมวลชน ไม่ได้อยู่ในคณะมนุษย์แล้ว แนวคิดเรื่องการศึกษาอย่างเป็นองค์รวมเพื่อเข้าถึงความเข้าใจในมนุษย์และสังคม ก่อนที่จะเรียนรู้ทักษะ(สื่อมวลชน)เพื่อจะได้เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมปัญญาและความสามารถ ก็จะปลาสนาการไป เหลือแต่ความต้องการที่จะฝึกฝนตนให้เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน เรียนเอาความรู้ที่เป็นเสี่ยงๆแยกขาดจากสังคมและมนุษย์ซึ่งนับว่าอันตรายมาก ไม่ต่างไปจากวิศวะกรโยธาที่ไม่รู้ว่าทำไมเอ็นจีโอจึงคัดค้านการทำเขื่อน ยังไม่ต้องพูดถึงว่า แม้รู้ถึงปัญหาแล้ว บัณฑิตจะมีความกล้าที่จะไม่ทำงานอันเป็นเท็จและไร้ซึ่งจริยธรรมหรือไม่ กล้าที่จะขัดคำสั่งนายจ้างหรือนายทุนหากรู้ว่างานนั้นผิดวิสัยและส่งเสริมความรุนแรงในสังคม กล้าแม้กระทั่งที่จะลาออกจากงานและหางานที่เหมาะสมอันจะนำไปสู่ความรู้ ความเท่าเทียมและความจริงในสังคม อันเป็นหลักการของสื่อมวลชนเพื่อมวลชน มิใช่เพื่อนายทุน ใช่หรือไม่
หลายคนอาจมองในแง่ดีว่า แม้จะเป็นคณะแล้ว แต่การเรียนวิชาในคณะมนุษย์หรืออื่นก็ยังมีอยู่ แต่ข้าพเจ้าเห็นว่านี่คือหลักการซึ่งเป็นความหมายในเชิงนามธรรมอันสำคัญมากที่สุดของการเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว เพราะมันไม่ใช่แค่การได้ไปนั่งเรียนวิชาที่หลากหลายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการตระหนักระลึกอยู่ในใจว่าปรัชญาของการเรียนรู้คืออะไร ความเสียหายจากอหังการ์ของมนุษย์ที่เรียนรู้แบบแยกส่วนไม่เชื่อมโยงแล้วหลงคิดไปว่าตนได้เข้าถึงความจริงเป็นเช่นไร ซึ่งความคิดเช่นนี้จะหมดไป หากภาควิชาการสื่อสารมวลชนกลายเป็นคณะ ดังที่ได้เกิดขึ้นแล้วในม.ช. กับคณะเศรษศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
--------------------------------
ทุนในการทำงานและหางานนั้นนอกจากชื่อชั้นของสถาบันแล้ว ยังรวมถึง เกรดเฉลี่ย ประสบการณ์ส่วนตัว ทักษะในการทำงานจริง ความรู้ที่มี เส้นสาย นามสกุล บุคคลิก รวมไปถึงรูปร่างหน้าตา เป็นทุนที่จะทำให้คนๆนั้นประสบความสำเร็จในการหางานหรือการความก้าวหน้าการทำงาน หากแต่ต้องเข้าใจว่า ชื่อชั้นของสถาบัน เป็นหนึ่งในทุนหลักอันหนึ่งทีเดียว เป็นปัจจัยที่จะสร้างความประทับใจให้ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นแวดวงของบริษัทเอกชน ราชการ หรือแม้แต่สถาบันการศึกษา ทุนทางชื่อชั้นของสถาบันมีส่วนสำคัญในการกำหนด ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น และทัศนคติต่อตัวบุคคลในระยะเบื้องต้นอยู่เสมอ การเพียรพยายามศึกษาเล่าเรียนของเด็กไทยจึงเป็นไปเพื่อการแสวงทุนทางด้านนี้เสียเป็นส่วนใหญ่ มีการเข้าเรียนกวดวิชา นั่งท่องตำราสอบกันอย่างบ้าคลั่งก็เพื่อการนี้ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเอามาก เพราะความรู้ที่พวกเขาลงทุนลงแรงอดตาหลับขับตานอนนั้น กลับเป็นความรู้ที่ใช้ได้เพียงแค่ในการทำข้อสอบ แม้ว่าความรู้เหล่านี้จะมีประโยชน์อยู่บ้าง แต่พวกเขาก็ไม่ได้รับการฝึกฝนให้เกิดทักษะในการเชื่อมโยงความรู้เหล่านี้ในชีวิตประจำวันอย่างจริงจังตามสมควร
สิ่งหนึ่งที่ศิษย์เก่าสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (แมสคอม ม.ช.)ภาคภูมิใจและถือว่าเป็นหลักการที่สำคัญควรถือเอาเป็นแบบอย่างก็คือ การสู้งาน ติดดิน หรือพูดรวมๆว่า “อึด” ซึ่งดูเหมือนว่า คำๆนี้ จะเป็นสูตราสำคัญ ในชีวิตการเป็นบันฑิตแมสคอม ม.ช.เอาเลย ราวกับว่า ลึกๆแล้ว ทุกคนยอมรับให้นิเทศจุฬาฯ หรือ วารสารธรรมศาสตร์ มีศักดิ์ศรีเหนือกว่าแมสคอม ม.ช. คิดว่าคนที่สอบเข้าเรียนได้เค้าเก่งกว่า คะแนนเอ็นทรานซ์สูงกว่า เกียรติยศชื่อชั้นมันก็ดูดีกว่าไปเสียหมด เป็นระบบคิดที่สมยอมกับการให้ความมอบความไม่เท่าเทียมทางศักดิ์ศรีเนื่องด้วยทุนทางคุณวุฒิและสถาบัน ทำให้คิดยอมรับได้ว่า ตานั่นสมควรได้ทุนไปเรียนต่อเพราะมันแน่ จบจุฬาฯ โทฮาร์เวิร์ด หรือ ยัยนี่จบปริญญาเอกมา ก็สมควรแล้วที่หล่อนได้เงินเดือนมากกว่าเรา ความคิดเช่นนี้ทำให้บัณฑิตแมสคอมทั้งในอดีตและปัจจุบันยอมรับในความด้อยกว่าทางคุณวุฒิและศักดิ์ศรี พวกเขาเหล่านั้นจึงมีกระบวนการต่อสู้เพื่อเพิ่มมูลค่าของ “ทุน”เมื่อต้องเข้าไปสู่ระบบการทำงานในองค์กร พวกเขาพบว่า เด็กบ้านนอกอย่างเรา มีดีที่ความไม่หยิบโหย่ง สู้งาน และ อดทน ซึ่งเป็นทุนที่ประทับใจนายจ้างและเป็นทุนที่พวกเขามีอยู่มากกว่าบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยชั้นสูง
จริง ที่ความวิริยะ อุตสาหะ และความเพียรเป็นคุณสมบัติที่บัณฑิตพึงมี แต่ควรแล้วหรือที่เราจะสยบยอมต่อโครงสร้างเช่นนี้ ข้าพเจ้าและปัญญาชนผู้ใหญ่หลายคนกลับพบว่า บ่อยครั้งทีเดียวที่นักศึกษาและบัณฑิตแมสคอมม.ช. มีระบบความคิด และวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางกว่าชาวสถาบันอื่นมากนัก เหตุเนื่องจากเราได้เรียนรู้วิชาและหลักสูตรที่เน้นความรอบรู้(well-rounded)ความเข้าใจในมนุษย์ และ สังคม จากคณาจารย์ในคณะมนุษย์และอื่นๆ ซึ่งมีความคิดที่ก้าวหน้ามากอย่างน่าอัศจรรย์ ทุกท่านคงเข้าใจดีว่าข้าพเจ้าหมายถึงวิชาอะไรบ้างและสอนโดยใคร แต่หากชาวแมสคอมม.ช.ส่วนใหญ่กลับไม่เห็นค่าของสิ่งเหล่านี้(take it for granted)หากแต่ติดยึดอยู่ในวิธีคิดที่ยอมรับในความด้อยกว่าของสถาบัน อันนำมาซึ่งแนวทางของการต่อสู้ทางชนชั้น ด้วยการพยายามยกระดับสถาบันของตน เปลี่ยนภาควิชาให้เป็นคณะ ข้าพเจ้าเห็นว่านี่เป็นการต่อสู้ที่เต็มไปด้วยความหลง และยิ่งเป็นการสนับสนุนระบบการกดขี่เชิงโครงสร้างแห่งศักดิ์ศรีเพิ่มขึ้นไปอีก บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยที่ชื่อชั้นด้อยกว่าม.ช. ก็จะถูกกดขี่ไปเป็นทอดๆมากขึ้นไปอีก ควรแล้วหรือขอท่านโปรดตรอง
อีกเหตุผลหนึ่งที่คณะผู้ผลักดันชี้ให้เห็นถึงข้อดีของการเป็นคณะคือเรื่องของงบประมาณและระเบียบการบริหารที่จะสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งข้าพเจ้าไม่มีข้อคัดค้านหรือโต้แย้งใดๆในประเด็นนี้ เพียงแต่อยากจะตั้งคำถามว่า คุ้มหรือไม่ที่จะแลกวิสัยทัศน์และกระบวนการคิดอันน่าชื่นชม กับเพียงแค่งบประมาณที่เพิ่มขึ้น ความสะดวกในการบริหาร ตำแหน่ง(หัวหน้าภาค กลายเป็นคณะบดี) และความภูมิใจหลอกๆ
หากภาควิชาการสื่อสารมวลชน ไม่ได้อยู่ในคณะมนุษย์แล้ว แนวคิดเรื่องการศึกษาอย่างเป็นองค์รวมเพื่อเข้าถึงความเข้าใจในมนุษย์และสังคม ก่อนที่จะเรียนรู้ทักษะ(สื่อมวลชน)เพื่อจะได้เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมปัญญาและความสามารถ ก็จะปลาสนาการไป เหลือแต่ความต้องการที่จะฝึกฝนตนให้เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน เรียนเอาความรู้ที่เป็นเสี่ยงๆแยกขาดจากสังคมและมนุษย์ซึ่งนับว่าอันตรายมาก ไม่ต่างไปจากวิศวะกรโยธาที่ไม่รู้ว่าทำไมเอ็นจีโอจึงคัดค้านการทำเขื่อน ยังไม่ต้องพูดถึงว่า แม้รู้ถึงปัญหาแล้ว บัณฑิตจะมีความกล้าที่จะไม่ทำงานอันเป็นเท็จและไร้ซึ่งจริยธรรมหรือไม่ กล้าที่จะขัดคำสั่งนายจ้างหรือนายทุนหากรู้ว่างานนั้นผิดวิสัยและส่งเสริมความรุนแรงในสังคม กล้าแม้กระทั่งที่จะลาออกจากงานและหางานที่เหมาะสมอันจะนำไปสู่ความรู้ ความเท่าเทียมและความจริงในสังคม อันเป็นหลักการของสื่อมวลชนเพื่อมวลชน มิใช่เพื่อนายทุน ใช่หรือไม่
หลายคนอาจมองในแง่ดีว่า แม้จะเป็นคณะแล้ว แต่การเรียนวิชาในคณะมนุษย์หรืออื่นก็ยังมีอยู่ แต่ข้าพเจ้าเห็นว่านี่คือหลักการซึ่งเป็นความหมายในเชิงนามธรรมอันสำคัญมากที่สุดของการเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว เพราะมันไม่ใช่แค่การได้ไปนั่งเรียนวิชาที่หลากหลายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการตระหนักระลึกอยู่ในใจว่าปรัชญาของการเรียนรู้คืออะไร ความเสียหายจากอหังการ์ของมนุษย์ที่เรียนรู้แบบแยกส่วนไม่เชื่อมโยงแล้วหลงคิดไปว่าตนได้เข้าถึงความจริงเป็นเช่นไร ซึ่งความคิดเช่นนี้จะหมดไป หากภาควิชาการสื่อสารมวลชนกลายเป็นคณะ ดังที่ได้เกิดขึ้นแล้วในม.ช. กับคณะเศรษศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
--------------------------------
<< Home