กลับมามองธิเบตกับสื่ออีกครั้ง
กลับมามองธิเบตกับสื่ออีกครั้ง
กระทรวงการต่างประเทศ รัฐบาลพลัดถิ่นธิเบต ธรรมศาลา อินเดีย
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2549
นับเกือบห้าสิบปีแล้ว จากวันที่องค์ดาไลลามะได้ลี้ภัยมายังอินเดียภายหลังการเข้ายึดครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เดิมทีประเด็นปัญหาเรื่องธิเบตได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมาโดยตลอด
โดยเฉพาะเมื่อองค์ดาไลลามะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ.2532 ชาวโลกต่างยกย่อง วิธีการของท่านว่า เป็นการใช้หลักอหิงสา และเมตตา แม้แต่กับศัตรูผู้กดขี่
แต่ในปัจจุบันหลังจากเหตุการณ์สิบเอ็ดกันยายน ข่าวและความสนใจในประเด็นด้านสันติภาพ และความขัดแย้งในโลก ถูกจำกัดลงให้เหลือเพียงประเด็นปัญหาการก่อการร้ายและความรุนแรงภายในประเทศ สื่อปัจจุบันได้กลายเป็นเพียงสื่อที่เสนอข่าวเพื่ออรรถรส (Sensational Media) ยิ่งประเด็นข่าวที่จะนำมาออกอากาศมีภาพหรือคำพูดที่สร้างผลกระทบต่อโสตประสาท
รุนแรงมากเท่าใด ยิ่งถือว่าน่าสนใจมากเท่านั้น เช่นภาพสงคราม การนองเลือด ภาพการระเบิด หรือคำสบถของผู้นำบางประเทศ เป็นต้น การดูข่าวในปัจจุบันจึงไม่ต่างอะไรกับการรับชมความบันเทิงดาดๆ เช่นการเชียร์บอล ดูเกมส์โชว์หรือฟังสรยุทธ์
ข้าพเจ้าเขียนบทความเรื่องนี้ขึ้นด้วยประเด็นหลักสองประเด็นหนึ่ง เพื่อชี้ให้เห็นถึงการละเลยปัญหาในการทำงาน และมุมมองของสือ่กระแสหลัก และ สอง เพื่อสะท้อนมุมมองที่แตกต่างของหนุ่มสาวธิเบตที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว พวกเขาใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างจากองค์ดาไลลามะ เช่น การเดินขบวนประท้วง การเผาธงชาติจีน หรือการอดอาหารจนตาย เพื่อเรียกร้องให้ประชาคมโลกหันมาสนใจประเด็นปัญหาเรื่องธิเบตอีกครั้ง
ปัจจุบันนิตยสารและสื่อหลายประเภท มีการใช้เทคนิคในการเสนอเรื่องราวผ่านปัจเจก เป็นการดำเนินเรื่อง โดยมีตัวบุคคลเป็นแกน โดยมุ่งที่จะสะท้อนเรื่องราว ผ่านประสบการณ์มุมมอง และนำเสนอแนวความคิดของคนๆ นั้น เทคนิคนี้มีประสิทธิภาพในการเสนอประเด็นและเรื่องราว เนื่องจากการมุ่งประเด็นมาที่ตัวบุคคลที่โดดเด่น ทำให้เรื่องที่เสนอมีพลังน่าสนใจและน่าติดตาม สารคดีหลายประเภทแม้แต่สารคดีชีวิตสัตว์ ส่วนใหญ่ก็มักจะใช้วิธีการดังว่านี้
เมื่อสารคดีเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิคเสนอสารคดีสัตว์โลก โดยให้สัตว์เพียงชนิดเดียวเป็นตัวเอก บ้างก็เสนอให้เป็นประเด็นของการต่อสู้ของสัตว์ปุกปุยผู้อ่อนแอ น่ารัก แสนดี กับ สัตว์ผู้ล่าที่เหี้ยม โหดและคดโกง ภาพที่ได้ก็คือป่าทั้งป่าดำเนินไปโดยมีสัตว์ชนิดนั้นเป็นศูนย์กลาง ไม่ผิดกับมนุษย์ที่ถือตนเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มุมมองที่คับแคบนี้นำไปสู่แนวคิดที่ก้าวร้าว เช่น ทฤษฎีความอยู่รอดของผูแข็งแกร่ง(Survival of the fittest) ซึ่งมนุษย์บางพวกได้ถือเอาเป็นสัจจะในการดำเนินชีวิตเลยทีเดียว
วิทยาศาสตร์ใหม่ (New Science) แลหลากหลายศาสนา ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า สังคมของสิ่งมีชีวิตนั้น อยู่ร่วมกันอย่างแนบชิดเกื้อกูลและเชื่อมโยงต่อกันอย่างเป็นระบบ และไม่อาจแบ่งแยกมาศึกษาอย่างเป็นเสี้ยวส่วนได้
ในความเป็นจริง ระบบสังคมและธรรมชาติของทั้งสัตว์และมนุษย์นั้น ซับซ้อน กว้างขวาง และลึกซึ้งมากเกินกว่าที่จะเสนอผ่านมุมมองของปัจเจก เมื่อสื่อเลือกที่จะเสนอเรื่องราวผ่านตัวเดินเรื่องหลักเพียงมุมเดียว ผลลัพธ์ที่ได้คือความตื้นเขินและภาพความเป็นจริงที่บิดเบือน
สื่อไทย ที่เชื่อว่าตนมีอิสระภาพและความก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นในหลายด้าน โดยรู้ตัวหรือไม่ ก็มักเสนอข่าวในรูปแบบเดียวกันนี้
กรณีประเด็นยายไฮ ทนายสมชาย หรือ ฮีโร่คนอื่นๆอีกหลายคน ที่สื่อไทยโหมโรงอย่างพร้อมเพรียงจนเป็นข่าวต่อเนื่อง แต่ก็ไม่สามารถเสนอประเด็นปัญหาเชิงลึกได้อย่างเป็นชิ้นเป็นอันเอาเลย ระดับของปัญหาในเชิงโครงสร้างและนโยบาย ถูกลดทอนเหลือเพียงแค่ความน่าสนใจในประเด็นการต่อสู้ของตัวบุคคล กับ อำนาจรัฐ หรือกลุ่มผู้มีอิทธิพล การเสนอข่าวในรูปแบบนี้มีประสิทธิภาพสูงในการดึงดูดความสนใจและเร้าอารมณ์ผู้รับสาร แต่ไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมในการคิดแก้ปัญหา อันจะสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงแนวคิดของตัวบุคคลผู้รับสารเอง
หรือโครงสร้างสังคมได้เลย
ปัญหาเขื่อน พลังงานและเรื่องธิเบต จึงน่าสนใจสำหรับผู้ชม แต่ไม่มีใครมองเห็นว่าตัวปัญหาที่แท้จริงหรืออะไร และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างไร
เป็นที่น่าเสียดายว่า หลายคน "รู้เรื่อง" แต่ไม่เข้าใจอะไรเลย
สำหรับประเด็นธิเบต หลายครั้งนักเคลื่อนไหวและนักศึกษาได้ใช้หลักการเดียวกันนี้ มุ่งประเด็นเรียกร้องความสนใจไปที่ตัวบุคคล เช่น เสนอเรื่องราวของนักโทษการเมืองที่ถูกทารุณ หรือการเรียกร้องให้รัฐบาลจีนปล่อยตัว ปานเชน ลามะ (ผู้นำอันดับสองของธิเบต นักโทษการเมืองที่อายุน้อยที่สุดในโลก) เป็นต้น แต่นี่ก็เป็นอีกความพยายาม ที่ตกอยู่ในหลุมพรางของสื่อที่มักง่าย สื่อเหล่านี้ไม่เคยออกแรงขยับตัวเพื่อเรียนรู้ประเด็นปัญหาอันซับซ้อนและลึกซึ้ง มีเพียงเหตุการณ์และประเด็นที่ก่อให้เกิดอารมณ์ร่วมอย่างสูงเท่านั้นที่พวกเขาสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อโทรทัศน์ บ่อยครั้งที่พวกเขาละทิ้งประเด็นสำคัญด้วยเหตุผลเพียงแค่ว่า "ไม่มีภาพ"
สังคมปัจจุบันรับรู้ข่าวสารได้ในเพียงแค่ระดับปรากฏการณ์จากสื่อกระแสหลักเหล่านี้ หลายคนบอกว่านี่คือปัญหางูกินหาง หากประชาชนไม่พัฒนาวัฒนธรรมการรับฟังข่าวสาร สื่อก็ไม่พัฒนา และในทางเดียวกัน เมื่อสื่อไม่ปรับปรุงวัฒนธรรมการเสนอข่าว คุณภาพของสังคมก็ย่ำอยู่กับที่ไม่เดินหน้าไปไหน
แต่ข้าพเจ้ามองว่านี่มุมมองเช่นนี้ไร้สาระ สังคมมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา สื่อก็เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนขึ้นอยู่กับว่าจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นหรือชั่วลง ความคิดริเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงให้มีสิ่งที่กว่าเกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับตัวเราทั้งสิ้น ความคิดที่ว่าหากพัฒนาการเสนอข่าวให้มีสาระมากขึ้นประชาชนจะรับฟังน้อยลงนั้น เป็นความคิดของนักข่าวที่ไม่เอาไหนเสียเลย เขาตั้งโจทย์ผิดตั้งแต่แรก เมื่อเอาปริมาณเรทติ้งเป็นตัวตั้ง ความตั้งใจที่จะเสนอข่าวที่มีสาระก็เป็นประเด็นรองแต่หากสื่อคิดใหม่ โดยเอาประเด็นปัญหาและสาระที่สำคัญเป็นปัจจัยหลัก แม้เนื้อเรื่องและภาพจะไม่หวือหวา แต่ก็ต้องมุ่งมั่นนำเสนอต่อประชาชนให้ได้ เนื่องด้วยความรับผิดชอบ เมื่อมีมุมมองเช่นนี้ ประเด็นเรื่องเรทติ้งจะกลายเป็นความท้าทาย ให้มีการพัฒนาปรับปรุงกลวิธีการนำเสนอข่าว ให้มีประสิทธิภาพ เพราะการนำเสนอเรื่องราวที่สำคัญให้ลึกซึ้ง และรอบด้านเป็นสิ่งจำเป็นหลัก วิธีการคิดเช่นนี้จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และก่อประโยชน์แก่สังคมโดยรวม
สำหรับประเด็นปัญหาธิเบต ข้าพเจ้ามีความเป็นห่วงว่า หากสื่อกระแสหลักยังคงมีรูปแบบการหาและนำเสนอข่าวดังเช่นที่เป็นอยู่ กลุ่มผู้เรียกร้องอิสระภาพและสังคมธิเบตจะไม่สามารถยึดมั่นกับการต่อสู้แบบอหิงสา และเมตตาได้อีกต่อไป
ขณะที่เขียนบทความนี้ ข้าพเจ้ากำลังทำงานอยู่กับรัฐบาลพลัดถิ่นธิเบตขอองค์ดาไลลามะในประเทศอินเดีย แน่นอนว่าประเด็นเรื่องการต่อสู้เพื่ออิสระภาพนั้นเป็นหัวข้อหลักในการพูดคุยของคนที่นี่ แม้สังคมของพวกเขา จะได้ใช้ชีวิตเป็นผู้ลี้ภัยมาเกือบห้าสิบปีแล้วก็ตาม เท่าที่พบเห็น โดยทั่วไปชาวธิเบตส่วนใหญ่ ยังคงยึดมั่นในวิถีพุทธศาสนามหายาน ที่เน้นหลักเมตตา และความเข้าใจในหลักปฏิจจสมุปบาท ซึ่งช่วยให้พวกเขามีความอดทน ในการเรียกร้องอิสระภาพแบบอหิงสา แต่ก็มีหลายคนเริ่มเป็นห่วงถึงวันที่ไม่มีองค์ดาไลลามะ บ้างก็ว่าเวลาเหลือน้อยเต็มที ต้องหาทางออกในการลงมือทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันสักอย่าง หนุ่มสาวธิเบตโดยเฉพาะกลุ่มที่โตและได้รับการศึกษาสมัยใหม่ในอินเดียและตะวันตก พวกเขาเริ่มที่จะเรียนรู้ว่าเมตตา และอหิงสานั้น "ไม่เป็นข่าว" แต่การเดินขบวน เผาธง ปีนสถานทูต และด่ารัฐบาลจีนนั้น "เป็นข่าว" กลุ่มคนหนุ่มสาวเหล่านี้รวมตัวกันเดินขบวนประท้วงและต่อต้านรัฐบาลจีนในทุกสถานการณ์ และรูปแบบเท่าที่จะทำได้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ความคิดที่จะเข้าใจและเห็นใจชาวจีนก็จะปลาสนาการไป อันนี้เป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง ข้าพเจ้าไม่อยากเห็นแนวคิด และวัตรปฏิบัติอันน่ายกย่องที่ชาวธิเบต และองค์ดาไลลามะ ได้มอบไว้ให้กับโลก เป็นเพียงมรดกที่ตายแล้ว
ขอฝากย้ำว่า สื่อทั้งหลายควรหันมามองประเด็นเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อปรับปรุง และพัฒนาตัวเองมิให้ตกถลำไปกับกระแสทุน และกำไรเป็นใหญ่ ลืมแนวคิดอุดมการณ์ที่เคยมี และทำงานอย่างมักง่ายไปอย่างวันต่อวัน
=========
http://www.bangkokbiznews.com/2006/01/09/w017reg_66350.php?news_id=66350
http://www.bangkokbiznews.com/2006/01/09/w017l1_66479.php?news_id=66479
กระทรวงการต่างประเทศ รัฐบาลพลัดถิ่นธิเบต ธรรมศาลา อินเดีย
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2549
นับเกือบห้าสิบปีแล้ว จากวันที่องค์ดาไลลามะได้ลี้ภัยมายังอินเดียภายหลังการเข้ายึดครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เดิมทีประเด็นปัญหาเรื่องธิเบตได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมาโดยตลอด
โดยเฉพาะเมื่อองค์ดาไลลามะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ.2532 ชาวโลกต่างยกย่อง วิธีการของท่านว่า เป็นการใช้หลักอหิงสา และเมตตา แม้แต่กับศัตรูผู้กดขี่
แต่ในปัจจุบันหลังจากเหตุการณ์สิบเอ็ดกันยายน ข่าวและความสนใจในประเด็นด้านสันติภาพ และความขัดแย้งในโลก ถูกจำกัดลงให้เหลือเพียงประเด็นปัญหาการก่อการร้ายและความรุนแรงภายในประเทศ สื่อปัจจุบันได้กลายเป็นเพียงสื่อที่เสนอข่าวเพื่ออรรถรส (Sensational Media) ยิ่งประเด็นข่าวที่จะนำมาออกอากาศมีภาพหรือคำพูดที่สร้างผลกระทบต่อโสตประสาท
รุนแรงมากเท่าใด ยิ่งถือว่าน่าสนใจมากเท่านั้น เช่นภาพสงคราม การนองเลือด ภาพการระเบิด หรือคำสบถของผู้นำบางประเทศ เป็นต้น การดูข่าวในปัจจุบันจึงไม่ต่างอะไรกับการรับชมความบันเทิงดาดๆ เช่นการเชียร์บอล ดูเกมส์โชว์หรือฟังสรยุทธ์
ข้าพเจ้าเขียนบทความเรื่องนี้ขึ้นด้วยประเด็นหลักสองประเด็นหนึ่ง เพื่อชี้ให้เห็นถึงการละเลยปัญหาในการทำงาน และมุมมองของสือ่กระแสหลัก และ สอง เพื่อสะท้อนมุมมองที่แตกต่างของหนุ่มสาวธิเบตที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว พวกเขาใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างจากองค์ดาไลลามะ เช่น การเดินขบวนประท้วง การเผาธงชาติจีน หรือการอดอาหารจนตาย เพื่อเรียกร้องให้ประชาคมโลกหันมาสนใจประเด็นปัญหาเรื่องธิเบตอีกครั้ง
ปัจจุบันนิตยสารและสื่อหลายประเภท มีการใช้เทคนิคในการเสนอเรื่องราวผ่านปัจเจก เป็นการดำเนินเรื่อง โดยมีตัวบุคคลเป็นแกน โดยมุ่งที่จะสะท้อนเรื่องราว ผ่านประสบการณ์มุมมอง และนำเสนอแนวความคิดของคนๆ นั้น เทคนิคนี้มีประสิทธิภาพในการเสนอประเด็นและเรื่องราว เนื่องจากการมุ่งประเด็นมาที่ตัวบุคคลที่โดดเด่น ทำให้เรื่องที่เสนอมีพลังน่าสนใจและน่าติดตาม สารคดีหลายประเภทแม้แต่สารคดีชีวิตสัตว์ ส่วนใหญ่ก็มักจะใช้วิธีการดังว่านี้
เมื่อสารคดีเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิคเสนอสารคดีสัตว์โลก โดยให้สัตว์เพียงชนิดเดียวเป็นตัวเอก บ้างก็เสนอให้เป็นประเด็นของการต่อสู้ของสัตว์ปุกปุยผู้อ่อนแอ น่ารัก แสนดี กับ สัตว์ผู้ล่าที่เหี้ยม โหดและคดโกง ภาพที่ได้ก็คือป่าทั้งป่าดำเนินไปโดยมีสัตว์ชนิดนั้นเป็นศูนย์กลาง ไม่ผิดกับมนุษย์ที่ถือตนเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มุมมองที่คับแคบนี้นำไปสู่แนวคิดที่ก้าวร้าว เช่น ทฤษฎีความอยู่รอดของผูแข็งแกร่ง(Survival of the fittest) ซึ่งมนุษย์บางพวกได้ถือเอาเป็นสัจจะในการดำเนินชีวิตเลยทีเดียว
วิทยาศาสตร์ใหม่ (New Science) แลหลากหลายศาสนา ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า สังคมของสิ่งมีชีวิตนั้น อยู่ร่วมกันอย่างแนบชิดเกื้อกูลและเชื่อมโยงต่อกันอย่างเป็นระบบ และไม่อาจแบ่งแยกมาศึกษาอย่างเป็นเสี้ยวส่วนได้
ในความเป็นจริง ระบบสังคมและธรรมชาติของทั้งสัตว์และมนุษย์นั้น ซับซ้อน กว้างขวาง และลึกซึ้งมากเกินกว่าที่จะเสนอผ่านมุมมองของปัจเจก เมื่อสื่อเลือกที่จะเสนอเรื่องราวผ่านตัวเดินเรื่องหลักเพียงมุมเดียว ผลลัพธ์ที่ได้คือความตื้นเขินและภาพความเป็นจริงที่บิดเบือน
สื่อไทย ที่เชื่อว่าตนมีอิสระภาพและความก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นในหลายด้าน โดยรู้ตัวหรือไม่ ก็มักเสนอข่าวในรูปแบบเดียวกันนี้
กรณีประเด็นยายไฮ ทนายสมชาย หรือ ฮีโร่คนอื่นๆอีกหลายคน ที่สื่อไทยโหมโรงอย่างพร้อมเพรียงจนเป็นข่าวต่อเนื่อง แต่ก็ไม่สามารถเสนอประเด็นปัญหาเชิงลึกได้อย่างเป็นชิ้นเป็นอันเอาเลย ระดับของปัญหาในเชิงโครงสร้างและนโยบาย ถูกลดทอนเหลือเพียงแค่ความน่าสนใจในประเด็นการต่อสู้ของตัวบุคคล กับ อำนาจรัฐ หรือกลุ่มผู้มีอิทธิพล การเสนอข่าวในรูปแบบนี้มีประสิทธิภาพสูงในการดึงดูดความสนใจและเร้าอารมณ์ผู้รับสาร แต่ไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมในการคิดแก้ปัญหา อันจะสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงแนวคิดของตัวบุคคลผู้รับสารเอง
หรือโครงสร้างสังคมได้เลย
ปัญหาเขื่อน พลังงานและเรื่องธิเบต จึงน่าสนใจสำหรับผู้ชม แต่ไม่มีใครมองเห็นว่าตัวปัญหาที่แท้จริงหรืออะไร และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างไร
เป็นที่น่าเสียดายว่า หลายคน "รู้เรื่อง" แต่ไม่เข้าใจอะไรเลย
สำหรับประเด็นธิเบต หลายครั้งนักเคลื่อนไหวและนักศึกษาได้ใช้หลักการเดียวกันนี้ มุ่งประเด็นเรียกร้องความสนใจไปที่ตัวบุคคล เช่น เสนอเรื่องราวของนักโทษการเมืองที่ถูกทารุณ หรือการเรียกร้องให้รัฐบาลจีนปล่อยตัว ปานเชน ลามะ (ผู้นำอันดับสองของธิเบต นักโทษการเมืองที่อายุน้อยที่สุดในโลก) เป็นต้น แต่นี่ก็เป็นอีกความพยายาม ที่ตกอยู่ในหลุมพรางของสื่อที่มักง่าย สื่อเหล่านี้ไม่เคยออกแรงขยับตัวเพื่อเรียนรู้ประเด็นปัญหาอันซับซ้อนและลึกซึ้ง มีเพียงเหตุการณ์และประเด็นที่ก่อให้เกิดอารมณ์ร่วมอย่างสูงเท่านั้นที่พวกเขาสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อโทรทัศน์ บ่อยครั้งที่พวกเขาละทิ้งประเด็นสำคัญด้วยเหตุผลเพียงแค่ว่า "ไม่มีภาพ"
สังคมปัจจุบันรับรู้ข่าวสารได้ในเพียงแค่ระดับปรากฏการณ์จากสื่อกระแสหลักเหล่านี้ หลายคนบอกว่านี่คือปัญหางูกินหาง หากประชาชนไม่พัฒนาวัฒนธรรมการรับฟังข่าวสาร สื่อก็ไม่พัฒนา และในทางเดียวกัน เมื่อสื่อไม่ปรับปรุงวัฒนธรรมการเสนอข่าว คุณภาพของสังคมก็ย่ำอยู่กับที่ไม่เดินหน้าไปไหน
แต่ข้าพเจ้ามองว่านี่มุมมองเช่นนี้ไร้สาระ สังคมมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา สื่อก็เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนขึ้นอยู่กับว่าจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นหรือชั่วลง ความคิดริเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงให้มีสิ่งที่กว่าเกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับตัวเราทั้งสิ้น ความคิดที่ว่าหากพัฒนาการเสนอข่าวให้มีสาระมากขึ้นประชาชนจะรับฟังน้อยลงนั้น เป็นความคิดของนักข่าวที่ไม่เอาไหนเสียเลย เขาตั้งโจทย์ผิดตั้งแต่แรก เมื่อเอาปริมาณเรทติ้งเป็นตัวตั้ง ความตั้งใจที่จะเสนอข่าวที่มีสาระก็เป็นประเด็นรองแต่หากสื่อคิดใหม่ โดยเอาประเด็นปัญหาและสาระที่สำคัญเป็นปัจจัยหลัก แม้เนื้อเรื่องและภาพจะไม่หวือหวา แต่ก็ต้องมุ่งมั่นนำเสนอต่อประชาชนให้ได้ เนื่องด้วยความรับผิดชอบ เมื่อมีมุมมองเช่นนี้ ประเด็นเรื่องเรทติ้งจะกลายเป็นความท้าทาย ให้มีการพัฒนาปรับปรุงกลวิธีการนำเสนอข่าว ให้มีประสิทธิภาพ เพราะการนำเสนอเรื่องราวที่สำคัญให้ลึกซึ้ง และรอบด้านเป็นสิ่งจำเป็นหลัก วิธีการคิดเช่นนี้จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และก่อประโยชน์แก่สังคมโดยรวม
สำหรับประเด็นปัญหาธิเบต ข้าพเจ้ามีความเป็นห่วงว่า หากสื่อกระแสหลักยังคงมีรูปแบบการหาและนำเสนอข่าวดังเช่นที่เป็นอยู่ กลุ่มผู้เรียกร้องอิสระภาพและสังคมธิเบตจะไม่สามารถยึดมั่นกับการต่อสู้แบบอหิงสา และเมตตาได้อีกต่อไป
ขณะที่เขียนบทความนี้ ข้าพเจ้ากำลังทำงานอยู่กับรัฐบาลพลัดถิ่นธิเบตขอองค์ดาไลลามะในประเทศอินเดีย แน่นอนว่าประเด็นเรื่องการต่อสู้เพื่ออิสระภาพนั้นเป็นหัวข้อหลักในการพูดคุยของคนที่นี่ แม้สังคมของพวกเขา จะได้ใช้ชีวิตเป็นผู้ลี้ภัยมาเกือบห้าสิบปีแล้วก็ตาม เท่าที่พบเห็น โดยทั่วไปชาวธิเบตส่วนใหญ่ ยังคงยึดมั่นในวิถีพุทธศาสนามหายาน ที่เน้นหลักเมตตา และความเข้าใจในหลักปฏิจจสมุปบาท ซึ่งช่วยให้พวกเขามีความอดทน ในการเรียกร้องอิสระภาพแบบอหิงสา แต่ก็มีหลายคนเริ่มเป็นห่วงถึงวันที่ไม่มีองค์ดาไลลามะ บ้างก็ว่าเวลาเหลือน้อยเต็มที ต้องหาทางออกในการลงมือทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันสักอย่าง หนุ่มสาวธิเบตโดยเฉพาะกลุ่มที่โตและได้รับการศึกษาสมัยใหม่ในอินเดียและตะวันตก พวกเขาเริ่มที่จะเรียนรู้ว่าเมตตา และอหิงสานั้น "ไม่เป็นข่าว" แต่การเดินขบวน เผาธง ปีนสถานทูต และด่ารัฐบาลจีนนั้น "เป็นข่าว" กลุ่มคนหนุ่มสาวเหล่านี้รวมตัวกันเดินขบวนประท้วงและต่อต้านรัฐบาลจีนในทุกสถานการณ์ และรูปแบบเท่าที่จะทำได้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ความคิดที่จะเข้าใจและเห็นใจชาวจีนก็จะปลาสนาการไป อันนี้เป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง ข้าพเจ้าไม่อยากเห็นแนวคิด และวัตรปฏิบัติอันน่ายกย่องที่ชาวธิเบต และองค์ดาไลลามะ ได้มอบไว้ให้กับโลก เป็นเพียงมรดกที่ตายแล้ว
ขอฝากย้ำว่า สื่อทั้งหลายควรหันมามองประเด็นเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อปรับปรุง และพัฒนาตัวเองมิให้ตกถลำไปกับกระแสทุน และกำไรเป็นใหญ่ ลืมแนวคิดอุดมการณ์ที่เคยมี และทำงานอย่างมักง่ายไปอย่างวันต่อวัน
=========
http://www.bangkokbiznews.com/2006/01/09/w017reg_66350.php?news_id=66350
http://www.bangkokbiznews.com/2006/01/09/w017l1_66479.php?news_id=66479
<< Home